จุดประสงค์

บล๊อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนวิชา อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน หวังว่าผู้ที่เข้ามาศึกษา จะได้ความรู้ความบันเทิงจาก บล๊อกของข้าพเจ้า ไม่มากก็น้อย

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แมลงพัฒนาตัวเอง ต่อต้านพืช GMO



ที่ ITHACA, N.Y. พืชผลทางการเกษตรที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมให้มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงนั้นมีโปรตีนที่ฆ่าแมลงได้ 2 โปรตีน ในทุกๆต้น แต่เมื่อพืชถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มีพิษหนึ่งเพียงใน 2 ของพิษดังกล่าว มาขึ้นใกล้ๆ แมลงอาจพัฒนาตัวเองอย่างรวดเร็วมากขึ้นในการต่อต้านพืชฆ่าแมลงนั้น, รายงานโดยนักวิจัยของ มหาวิทยาลัย Cornell 

แบคทีเรียในดินที่มีชื่อว่า Bacillus thuringiensis (Bt) ซึ่งมี ยีน ที่ใช้แทรกเข้าไปในพืช เช่น ข้าวโพด ฝ้ายเพื่อที่จะสร้างสารพิษซึ่งฆ่าแมลงได้ แต่ไม่เป็นอันตรายใดๆเลยต่อมนุษย์ 

พืช Bt ได้นำมาใช้ในทางการค้าเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1996 นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจารณ์ ได้แสดงความเป็นห่วงว่า การใช้พืช Bt กันอย่างกว้างขวาง อาจส่งผลให้เกิดภาวะที่แมลง เกิดการวิวัฒนาการ และพัฒนาตัวเองให้ต่อต้านสารพิษดังกล่าวได้

จนปัจจุบัน ยังไม่มีการแสดงให้เห็นว่า ถ้าต้นพืชข้างเคียงผลิตสารพิษของ Bt เพียงชนิดเดียวจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสามารถในการต่อต้านแมลงของพืชที่ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีการสร้างสารพิษ 2 ชนิด

“การค้นพบของเราชี้ให้เห็นว่า การนำมาปลูกร่วมกันของพืชที่มี ยีน สร้างสารพิษ Bt ชนิดเดียว และสองชนิด สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงต่อพืชที่มี ยีน สร้างสารพิษสองชนิดได้ ถ้านำพืชที่มี ยีน สร้างสารพิษชนิดเดียวมาปลูกเรียงไว้ในพื้นที่เดียวกัน และในเวลาเดียวกัน” Anthony Shelton ศาสตราจารย์ด้าน กีฏวิทยา วิทยาลัยการเกษตรและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของมหาวิทยาลัย Cornell ผู้ทำงานวิจัยชิ้นนี้ ได้กล่าวไว้ โดยงานชิ้นนี้ได้ถูกเผยแพร่แบบ online ในวันที่ 6 มิถุนายน ของ Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) และได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารดังกล่าวในวันที่ 14 “พืชที่มี ยีน ที่สร้างพิษ เพียง ยีน เดียว เป็นปัจจัยสำคัญที่แท้จริง ในการทำให้เกิดการต่อต้านพืชที่มี ยีน สร้างพิษ 2 ยีน ถ้าพืชที่มี ยีน สร้างพิษ ยีน เดียว มี ยีน เดียวกันกับพืชที่มี ยีน สร้างพิษ 2 ยีน

ฝ้าย และ ข้าวโพด เป็นพืชเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่เป็นพืช Bt ที่นำมาใช้ในการพาณิชย์ ในปี 2004 พืช 2 ชนิดนี้ ได้มีการนำมาเพาะปลูกทั้งสิ้นกว่า 13 ล้าน เฮกแตร์ (ประมาณ 32 ล้าน เอเคอร์) ภายในประเทศ และมีการเพาะปลูกทั่วโลกกว่า 22.4 ล้าน เฮกแตร์ (ประมาณ 55 ล้าน เอเคอร์) หลังจาก 8 ปี ของการใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่เคยมีรายงานว่า พืชเหล่านั้นมีความล้มเหลวในการป้องกันแมลง หรือ แมลงมีการต่อต้านสารพิษ ของพืชดัดแปลงพันธุกรรม Bt ในแปลงเพาะปลูกเลย Shelton ได้กล่าวไว้ แต่ก็ยังคงมีแมลงบางชนิด ที่สารมารถพัฒนาตัวเองให้ต่อต้านสารพิษ Bt ได้ ในห้องปฏิบัติการ และเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า หนอนม้วนใบกะหล่ำ (ตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ที่กินพืชในวงศ์กะหล่ำเป็นอาหาร มีความสามารถในการต่อต้านทานพิษ Bt ที่พ่นในเรือนกระจกที่เพาะปลูกพืชในทางการค้าได้

ยิ่งไปกว่านั้น ผีเสื้อกลางคืนพันธุ์ diamondback เท่านั้น ที่ถูกใช้ในการศึกษา ได้มีการพัฒนาตัวเองในการต่อต้านสารพิษ Bt ในภาคสนาม รายงานการต่อต้านสารพิษของแมลงนี้ ได้รับจากชาวนาและชาวสวนที่ฉีดพ่นสารพิษ Bt เพื่อความคุมแมลงในไร่ ซึ่งมีการใช้กันมานานแล้ว ในขณะที่พิษ Bt สลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงอาทิตย์ และส่วนมากจะไม่ถูกตัวแมลงเลย การดัดแปลงพันธุกรรมพืช โดยใส่ ยีน Bt ลงไปให้พืชสร้างสารในเนื้อเยื่อพืช ซึ่งเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อแมลง ชนิดเดียวกับที่แบคทีเรียสร้าง ทำให้พืช Bt มีฤทธิ์ในการต่อต้านหนอนที่มาเจาะกินใบ หรือลำต้น เช่น หนอนเจาะข้าวโพดพันธุ์ยุโรป ที่สร้างความเสียหายให้แก่พืชผลในอเมริกาปีละกว่าพันล้านเหรียญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น